แนวข้อสอบ กลุ่มตำแหน่งไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

แนวข้อสอบวิชาภูมิศาสตร์

1.        บุคคลโดยทั่วไปใช้แผนที่เพื่อวัตถุประสงค์ใด

ก.  หาตำแหน่งที่ตั้ง                                            ข.  อ่านเสริมความรู้

                ค.  ศึกษาโลกของเรา                                          ง.  คำนวณหาเวลา

2.  ในปัจจุบันท่านคิดว่าเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ใดที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก

ก.   รูปถ่ายทางอากาศ                                        ข.  แผนที่แสดงเส้นทางหลวง

ค.   ภาพจากดาวเทียม                                        ง.  อินเทอร์เน็ต

3.  ถ้าปัญญาวัดระยะทางระหว่างสถานีอนามัยกับโรงเรียนในแผนที่ห่างกัน 4 เซนติเมตร   เมื่อเขา  ทดลองเดินได้ระยะทางจริง 2 กิโลเมตร แผนที่ฉบับนี้จะมีมาตราส่วนเท่าใด

ก.  1 : 50,000                                                      ข.  1 : 55,000

ค.  1 : 150,000                                                    .  1 : 5,000

4.  เส้นเมริเดียนแรก (0 องศา) มีความสำคัญอย่างไร

ก. ใช้กำหนดเวลามาตรฐานสากล                   ข. ใช้แบ่งซีกโลกเหนือและใต้

                ค. ใช้เริ่มต้นการแบ่งเวลาท้องถิ่น                  ง. ใช้กำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก

5.  นายสมิธเรียนอยู่ที่รัฐควีนส์แลนด์  ประเทศออสเตรเลีย จะโทรหาคุณแม่ที่อยู่กรุงเทพฯ  เวลา 20.00 น.   ของออสเตรเลีย   เวลาที่กรุงเทพ ฯ  ตรงกับข้อใด  ( ประเทศไทยตั้งอยู่ที่ลองจิจูด  105 องศาตะวันออก  ออสเตรเลียตั้งอยู่ที่ลองจิจูด  150 องศาตะวันออก)

ก.   เวลา  23.00   น.                                          ข.  เวลา   20.30   น.

ค.   เวลา  18.30  น.                                           ง.  เวลา   17.00   น.

6.  คำว่า  เวลามาตรฐานท้องถิ่น มีความหมายตรงกับข้อใด

                ก.  เวลาของพื้นที่ที่ได้รับแสงอาทิตย์

                ข.  เวลาที่กำหนดขึ้นเองในแต่ละพื้นที่

                ค.  เวลามาตรฐานกรีนิชสากลปานกลาง

                ง.   เวลามาตรฐานตามเขตเวลาแต่ละพื้นที่

7.  ถ้าศุภชัยเดินทางจากเส้นเมริเดียนแรก (0 องศา)  ไปทางซ้ายมือ จะมีเวลาเปลี่ยนแปลงอย่างไร

                ก. ไม่เปลี่ยนแปลงเพราะใช้เวลามาตรฐานสากลเดียวกัน

                ข.  ไม่เปลี่ยนแปลงเพราะใช้เขตเวลามาตรฐานเหมือนกัน

                ค.  เปลี่ยนแปลงโดยจะมีเวลาช้ากว่าที่เส้นเมริเดียนแรก

                ง.   เปลี่ยนแปลงโดยจะมีเวลาเร็วกว่าที่เส้นเมริเดียนแรก

ความลับการเป็นข้าราชการมาถึงมือท่านแล้ว

 แบบที่ 1 แบบปริ้นอ่านได้เลย ราคาเพียง 399 บาท แบบที่ 2 แบบหนังสือ+MP3 ราคา 699 บาท >รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ << >> (Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ << >> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ << >> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน <<          

สรุปสาระสำคัญของประชาคมอาเซียน

v ประชาคมอาเซียน (ASEAN: Association of South East Asian Nations)

v ที่มาและความสำคัญของประชาคมอาเซียน

§  เดิมการจัดตั้งกลุ่มประเทศอาเซียน ในครั้งแรก มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้เกิดความ

ร่วมมือเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและสังคม เพราะแต่ละประเทศมีแนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างกัน

อย่างมาก

§  การจัดตั้งขึ้นในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ ณ วังสราญรมย์ ในกระทรวงการ

ต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีประเทศสมาชิกเริ่มแรก ๕ ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย

ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา บรูไน ดารุสซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในวันที่ ๘ มกราคม

๒๕๒๗ เวียดนามได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ลาวและพม่าเข้าร่วมเมื่อวันที่ ๒๓

กรกฎาคม ๒๕๔๐ และกัมพูชาเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๒ ปัจจุบัน ประชาคมอาเซียน จึงมี

ประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ (๒๕๑๐)

บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา

§  มีประชากรรวมกันทั้งหมด 580 ล้านคน

§  ASEAN+3 หมายถึง ประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียน ร่วมกับประเทศจีน ญี่ปุ่น

และเกาหลี

§  ASEAN+6 ได้แก่ กลุ่มประเทศ ASEAN+3 และเพิ่มประเทศอินเดียออสเตรเลีย และ

นิวซีแลนด์ โดยมีการรวมตัวกันเพื่อเจรจาต่อรอง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเจรจาทางการค้า โดยเกี่ยวข้องกับการยกเว้น ยกเลิก หรือลดภาษีระหว่างกลุ่มประเทศคู่ค้า

v ประชาคมอาเซียน มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา

อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

v คำขวัญ ของ ASEAN คือ One Vision, One Identity, One Community (หนึง่วิสัยทัศน์ หนึ่ง

เอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)

 

v ประชาคมอาเซียน มีความร่วมมือ ๓ ด้าน หรือ ๓ เสาหลัก (pillars) คือ

v สนธิสัญญาความสามัคคีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุป

แนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จานวน ๖ ข้อ ดังนี้

๑) ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด

๒) รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ

๓) จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ

๔) ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ

๕) ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง

๖) ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ

งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

ข้อที่  1  การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางไฟฟ้า (คะแนน 1)    

การช่วยชีวิตผู้ถูกไฟฟ้าดูดที่หยุดหายใจ สามารถทำได้หลายวิธี เช่นวิธีการผายปอดด้วยวิธีปากต่อปาก (Mouth-to-Mouth Method) หรือวิธีนวดหัวใจ ซึ่งมี 2 วิธี เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพมากและได้ผลดีที่สุด ในการที่ช่วยให้ผู้ที่หยุดหายใจสามารถกลบมาหายใจด้วยตัวเองได้ใหม่ ซึ่งวิธีการปฏิบัติทำได้โดยไม่ยุ่งยาก และทำได้รวด

ข้อที่ 2  การป้องกันเหตุจากอุบัติภัยทางไฟฟ้า (คะแนน 1)    

                ข้อควรปฏิบัติในการทำงานเพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อจะเกิดความปลอดภัยในการทำงานมีดังต่อไปนี้

1. ไม่ควรทำการตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ใดๆ ขณะที่ยังมีแหล่งจ่ายไฟฟ้าต่ออยู่

2. เมื่อทำการแก้ไขจุดเสียภายในไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ใดๆ

3. เมื่อทำการตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ ใดๆ ขณะที่ยังเปิดใช้งานอยู่ ผู้ทำ   การตรวจซ่อมจะต้องป้องกันตนเอง โดยไม่ยืนพื้นที่ชื้นแฉะ หรือพิงกับวัตถุที่เป็นโลหะใดๆ และอาจป้องกันได้โดยการสวมรองเท้ายาง หรือยืนบนเสื่อที่ทำจากพลาสติก หรือพรมเช็ดเท้า เป็นต้น

4.ต้องปิดสวิตซ์อุปกรณ์ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์และถอดปลั๊กออกทุกครั้งก่อนที่จะทำ        การเปลี่ยนแปลงชิ้นส่วนใดๆ ทั้งนี้เนื่องจากอุปกรณ์บางอย่างถึงแม้จะปิดสวิตซ์ไปแล้วก็ยังมีแรงดันไฟฟ้าตกค้างอยู่ ส่วนอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดความร้อน เช่นตัวต้านทานบางชนิด จะต้องทิ้งไว้ชั่วขณะหนึ่ง กลังจากปิดสวิตซ์แล้ว เพื่อให้เย็นตัวลง

5.ไม่ควรใส่กำไล แหวน หรือนาฬิกา ขณะทำการตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ใดๆ ทั้งนี้เนื่องจากสิ่งของเหล่านี้มีค่าความต้านทานต่ำและเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าได้ดี

6. ก่อนทำการตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ใดๆ จะต้องตรวจสภาพทั่วไปว่าอุปกรณ์ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นมีการสึก มีรอยร้าว มีการไหม้ของสาย หรือมีการแตกของงปลั๊กหรือไม่ ถ้าตรวจพบให้ปิดสวิตซ์ จากนั้นให้เปลี่ยนอุปกรณ์เหล่านั้นให้อยู่ในสภาพดีก่อน

7. ขณะทำการตรวจซ่อมต้องแน่ใจว่ามีบุคคลอื่นอยู่ในบริเวณใกล้เคียงด้วย ทั้งนี้เพื่อคอยช่วยเหลือได้ทันทีในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

8. ต้องตรวจสอบดูว่าสวิตซ์ปิดเปิดของอุปกรณ์อยู่ที่ตำแหน่งใดก่อนทำการตรวจซ่อมเสมอ ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถปิดเปิดสวิตซ์ได้ทันทีในกรณีเหตุการณ์ฉุกเฉิน

 

ข้อที่ 3 การต่อใช้งานเครื่องมือวัด  (คะแนน 1)    

การปฏิบัติเมื่อใช้มัลติมิเตอร์วัดค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า มีดังนี้

1.  ปรับสวิตซ์เลือกการทำงานของมัลติมิเตอร์มาเป็นการวัดกระแสไฟฟ้าก่อนโดยเลือกย่านการวัดค่าเป็นการวัดกระแสตรง (IDC) หรือเป็นการวัดกระแสไฟสลับ (IAC) ให้ถูกต้องกับวงจรไฟฟ้าที่ต้องการจะวัด

2.  การวัดกระแสไฟฟ้าในวงจรจะต้องต่อเครื่องวัดในเส้นทางที่มีกระแสไฟฟ้าไหล นั่นคือ จะต้องทำการเปิดวงจรก่อน จากนั้นจึงนำเครื่องวัดไปต่ออนุกรมเข้ากับวงจร และสำหรับการต่อขั้วของเครื่องวัดนั้นถ้าเป็นการวัดกระแสไฟตรง (IDC) จะต้องต่อขั้วให้ถูกต้องโดยขั้วสายสีแดง (+) ของเครื่องวัดจะต้องต่อเข้ากับขั้วบวกของวงจร ส่วนขั้วสายสีดำ (-) ของเครื่องวัดจะต้องต่อเข้ากับขั้วลบของวงจร แต่ถ้าเป็นการวัดกระแสไฟสลับ (IAC) ไม่ต้องคำนึงถึงขั้วของเครื่องวัด 3.  ตั้งย่านการวัดให้สูงสุดก่อนเสมอ จากนั้นค่อยลดลงมาตามค่ากระแสที่ทำการวัดได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสียหายไม่ให้เกิดขึ้นกับเครื่องวัด โดยย่านการวัดที่เลือกนั้นจะต้องทำให้เข็มของเครื่องวัดอยู่ตรงกึ่งกลาง เพื่อให้การอ่านค่าง่ายยิ่งขึ้น

4.  ค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่องวัดแบบเข็ม ส่วนใหญ่จะประมาณ ±3% ของค่าที่อ่านได้เต็มสเกล ดังนั้นการอ่านค่ากระแสไฟฟ้าควรที่จะอ่านให้ได้ใกล้เคียงกับเต็มสเกลให้มากที่สุด ตัวอย่างเช่น                  ถ้ากระแสไฟฟ้าค่า 7 มิลลิแอมแปร์ วัดได้จากสกล 10 มิลลิแอมแปร์ ค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดเท่ากับ ±3% มิลลิแอมแปร์ ดังนั้นค่าที่วัดได้จะมีค่าตั้งแต่ 6.7 – 7.3 มิลลิแอมแปร์

 5.  โดยปกติแล้วเครื่องวัดแบบเข็มจะมีกระจกติดตั้งอยู่ที่สเกลบริเวณด้านหลังเข็มของเครื่องวัด ซึ่งจะช่วย

สะท้อนเงาของเข็มให้ปรากฏบนกระจก ดังนั้นเมื่อทำการอ่านค่าจะต้องมองในลักษณะตั้งตรง เพื่อให้เข็มของเครื่องวัดและเงาในกระจกทับกันพอดีจึงจะได้ค่าของกาวัดที่ถูกต้อง การปฏิบัติเมื่อใช้มัลติมิเตอร์วัดค่าแรงดันไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า มีดังนี้

                1.  ปรับสวิตซ์เลือกย่านการทำงานของมัลติมิเตอร์มาเป็นการวัดค่าแรงดันไฟฟ้าก่อนโดยเลือกย่านการวัดค่าเป็นการวัดแรงดันไฟตรง (VDC) หรือเป็นการวัดแรงดันไฟสลับ (VAC) ให้ถูกต้องกับวงจรไฟฟ้าที่ต้องการจะวัด

                2.  การวัดแรงดันไฟฟ้าในวงจรจะต้องต่อเครื่องวัดขนานกับตัวอุปกรณ์ที่ต้องการวัด และสำหรับการต่อขั้วของเครื่องวัดนั้นถ้าเป็นการวัดแรงดันไฟตรง (VDC) จะต้องต่อขั้วให้ถูกต้องโดยขั้วสายสีแดง (+) ของเครื่องวัดจะต้องต่อเข้ากับขั้วบวกของวงจร ส่วนขั้วสายสีดำ (-) ของเครื่องวัดจะต้องต่อเข้ากับขั้วลบของวงจร แต่ถ้าเป็นการวัดแรงดันไฟสลับ (VAC) ไม่ต้องคำนึงถึงขั้วของเครื่องวัด

                3.  ตั้งย่านการวัดให้สูงสุดก่อนเสมอ จากนั้นค่อยลดลงมาตามค่าแรงดันที่ทำการวัดได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสียหายไม่ให้เกิดขึ้นกับเครื่องวัด โดยย่านการวัดที่เลือกนั้นจะต้องทำให้เข็มของเครื่องวัดอยู่ตรงกึ่งกลาง เพื่อให้การอ่านค่าง่ายยิ่งขึ้น

                4.  ค่าความคลาดเคลื่อนของแรงดันไฟฟ้าของเครื่องวัดแบบเข็ม จะมีค่าประมาณ ±3% ดังนั้นถ้าแรงดันไฟฟ้าขนาด 7 โวลต์ ค่าที่อ่านได้จะมีค่าประมาณ 6.7 – 7.3 โวลต์

                5.  การอ่านค่าแรงดันไฟฟ้าจากเครื่องวัดจะต้องมองในลักษณะตั้งตรงกับเข็มของเครื่องวัด ทั้งนี้เพื่อให้เข็มของเครื่องวัด และเงาในกระจกทับกันพอดีจึงจะได้ที่ถูกต้อง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *